วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 ☂

 😝 ครั้งที่ 3 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น 

💚เนื้อหาที่เรียน

วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว

สภาพการณ์ปรากฎการณ์ (ม็อบ)

- ทำไมต้องไปที่อนุเสาวรีย์ ผลประโยชน์ให้กับใคร (ด้านสังคม)

- เวทีปราศัยต้องมีอะไรบ้างที่มาพูดให้ผ่อนคลาย จะต้องใช้เหตุ-ผล กระบวนการตั้งคำถาม-อยากรู้อยากเห็น สภาพอากาศ(โควิด-19) อาหารที่เลือกใช้ถูกสุขอนามัยหรือไม่ ประชากรรับประทานอาหารแล้วจะปัสสาวะถ่ายสะดวกไหม (ด้านวิทยาศาสตร์)

- จำนวนประชากรเท่าไหร่ จำนวนประชากรต้องรับประทานอาหารเท่าไหร่ ห้องน้ำต้องมีประมาณเท่าไหร่ให้พอจำนวนประชากร การจักตำแหน่งห้องน้ำ จำนวนเงินจัดงานเอามาจากไหน (ด้านคณิตศาสตร์)

- การชูสัญลักษณ์สามนิ้ว (แทนความคิด) 

*ทุกปรากฏการณ์สามารถเอามาวิเคราะห์ได้*

เอาปรากฏการณ์มาสอน และสอนอย่างไร ต้องเกิดการไม่เอนเอียง หาผลประโยชน์ ผลข้างเคียง ข้อดี-ข้อเสีย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 

เด็กปฐมวัย & การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

- วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงๆหรือ?

คำตอบ คือ ไม่เป็นยาขม ต้องสอดคล้องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก สิ่งใกล้ตัว สิ่งที่มีผลกระทบ

- ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?

คำตอบ คือ ไม่ยากเกินไป ถ้าจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

และอีกคำตอบก็คือ อาจจะยากเกินไป ถ้าจัดการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และเลือกจัดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก  

วิทยาศาสตร์

- คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง

- ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

- วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ได้ แต่สำหรับเด็กวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบๆตัว

ความอยากรู้อยากเห็น  มาจากพัฒนาการของเด็ก 

ความหมายพัฒนาการของเด็ก คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละระดับอายุของเด็ก ที่เด็กมีอยู่ในอายุนั้นๆ

ลักษณะของพัฒนาการ 

- เปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

- ความสามารถของเด็กแต่ละระดับอายุที่แสดงออกเป็น พฤติกรรม 

- คนรอบข้างต้องทำให้พัฒนาการของเด็กเต็มและแข็งแรง

เด็กมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร 

- การสัมผัส                                                               - การสังเกต คือ ตา 

- การฟัง คือ หู                                                          - การดมกลิ่น คือ จมูก

- การชิมรส คือ ลิ้น                                                   - กายสัมผัส 

นิยามคำว่า เล่น คือ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุ ทั้งแบบอิสระและครูจัดให้ บนพื้นฐานของความสุข ความสนุกสนาน

การพัฒนาการจะมีอายุเข้ามากำกับ 

 สมองทำงานอย่างไร คือ การซึมซับ ผสมผสาน ทำให้เกิดความรู้ใหม่

การเรียนรู้ = พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

งานที่รับมอบหมายให้ทำในวันนี้ คือ 

1. ทำบล็อคให้เสร็จ

2. ไปสรุป วิจัย บทความ คลิปวีดีโอการสอน ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แล้วมาพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียนอาทิตย์ละ 3 คน คนละหัวข้อ 

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Absorb = ซึบซับรับรู้

2. Senses = ความรู้สึก

3. Behavior = พฤติกรรม

4. Phenomenon = ปรากฏการณ์

5. Perception = ประสาทการรับรู้

 💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนเข้าใจมาก ละเอียด อธิบายได้ชัดเจน ได้ให้นักศึกษาออกความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ รับฟังและเข้าใจนักศึกษาทุกคน

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้น พยายามตอบคำถาม พยายามแสดงความคิดเห็นเวลาอาจารย์ถามมา เรียนสบายไม่เครียด และได้ความรู้ที่ใหม่ๆดีมาก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนมาเรียนตรงเวลาครบทุกคน กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นดีมาก  


 

 

 

 

 


☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 ☂

 😛 ครั้งที่ 1 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น 

💚เนื้อหาที่เรียน

 เป็นการพบกันชั่วโมงแรกของอาจารย์กับนักศึกษา อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการสเรียนการสอน การแต่งกาย และได้มอบหมายงานในชั่วโมง คือ จับกลุ่ม 3-4 คน ถ่ายรูปและตั้งชื่อกลุ่มลงใน padlet และให้นักศึกษาบอกว่ารายวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างในความคิดของนักศึกษาลงในกระดาษ A4 และงานถ่ายลงใน padlet ของตัวเองและได้ทำงานให้กลับไปทำ ดังนี้

     1. สร้างบล็อก โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

        - ชื่อและคำอธิบายรายวิชา

        - รูปและข้อมูลผู้เรียน

        - ปฏิทินและนาฬิกา

        - เชื่อมโยงบล็อก อาจารย์ผู้สอน, หน่วยงานสนับสนุน, แนวการสอน, งานวิจัยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย, บทความ, สื่อ (เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)

     2. เขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 5 คำ

     3. หาบทความวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     4. หาวิจัยศึกษาและคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเบื้องต้น

 💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

     1.Learning Skills = ทักษะการเรียนรู้

     2.Research study = การศึกษาวิจัย

     3.Article = บทความ

               4.Science = วิทยาศาสตร์

     5. Mathematics = คณิตศาสตร์

💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน 

ประเมินอาจารย์: อาจารย์อธิบายงานดีมาก สอนเข้าใจง่าย และไม่น่าเบื่อ

ประเมินตนเอง : เรียนครั้งแรกกับอ. จ๋า กระตือรือร้น และตั้งใจจดงานทุกอย่าง

ประเมินเพื่อน: เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันมากให้ความสำคัญในการจับกลุ่มดีมาก เป็นวันแรกมาเรียนครบทุกคน


☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 ☂

  😜ครั้งที่ 2 😇

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น 

💚เนื้อหาที่เรียน

 อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปบทความบทความวิทยาศาสตร์ บทความคณิตศาสตร์ วิจัยวิทยาศาสตร์ วิจัยคณิตศาสตร์ วีดีโอการสอนวิทยาศาสตร์ และวีดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ให้ถ่ายรูปกลุ่มและโพสต์ใน padlet เพื่อเป็นการเช็คชื่อ

ลิงค์ padlet >>> https://padlet.com/j_suksumran/qw2gd5k139fvudp3

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Science research = วิจัยวิทยาศาสตร์

2. Mathematics research = วิจัยคณิตศาสตร์

3. Learning notes = บันทึกการเรียนรู้

4. Assign work = มอบหมายงาน

5. Punctual = ตรงต่อเวลา

💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับงานที่ได้มอบหมายให้อย่างละเอียด

ประเมินตนเอง : มาตรงเวลา กระตือรือร้น 

ประเมินเพื่อน : มาเรียนตรงเวลาครบทุกคน


วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 14 ☂



 😝 ครั้งที่ 14 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น. 

💚เนื้อหาที่เรียน

ส่ง Mind map เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 












 
จากนั้นดูคลิป บ้านวิทยาศาสตร์ตัวน้อย
สิ่งที่ได้จากคลิปวิดีโอนี้คือ การทดลองทุกการทดลอง ต้องมีการตั้งสมมติฐานสิ่งที่จะเกิดขึ้น

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Science = วิทยาศาสตร์

2. Experiment = การทดลอง

3. Hypothesis = สมมติฐาน

4. Role = บทบาท

5. Characteristics = ลักษณะเฉพาะ

💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

 ประเมินอาจารย์ : มาตรงต่อเวลา อธิบายงานชัดเจนเข้าใจง่าย

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ความรู้การทำสื่อเพิ่มมากขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม



 

 





☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 13 ☂


 😝 ครั้งที่ 13 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น. 

💚เนื้อหาที่เรียน

 วันนี้อาจารย์ได้เปิด คลิปวิดิโออ่านสร้างสุข วิดีโอนี้สอนทั้งวิธีการอ่าน วิธีการสร้างผลงานจากนิทาน

จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปห้องสมุดเพื่อค้นว้าหาหนังสือนิทานแล้วทำสื่อพัฒนาลูกรัก 

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Develop = พัฒนา

2. Tale = นิทาน

3. Research = ค้นคว้า

4.Problem  = ปัญหา

5. Mind map = ผังความคิด

💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

 ประเมินอาจารย์ : มาตรงต่อเวลา อธิบายงานชัดเจนเข้าใจง่าย

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ความรู้การทำสื่อเพิ่มมากขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม