วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 ☂

 😝 ครั้งที่ 3 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น 

💚เนื้อหาที่เรียน

วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว

สภาพการณ์ปรากฎการณ์ (ม็อบ)

- ทำไมต้องไปที่อนุเสาวรีย์ ผลประโยชน์ให้กับใคร (ด้านสังคม)

- เวทีปราศัยต้องมีอะไรบ้างที่มาพูดให้ผ่อนคลาย จะต้องใช้เหตุ-ผล กระบวนการตั้งคำถาม-อยากรู้อยากเห็น สภาพอากาศ(โควิด-19) อาหารที่เลือกใช้ถูกสุขอนามัยหรือไม่ ประชากรรับประทานอาหารแล้วจะปัสสาวะถ่ายสะดวกไหม (ด้านวิทยาศาสตร์)

- จำนวนประชากรเท่าไหร่ จำนวนประชากรต้องรับประทานอาหารเท่าไหร่ ห้องน้ำต้องมีประมาณเท่าไหร่ให้พอจำนวนประชากร การจักตำแหน่งห้องน้ำ จำนวนเงินจัดงานเอามาจากไหน (ด้านคณิตศาสตร์)

- การชูสัญลักษณ์สามนิ้ว (แทนความคิด) 

*ทุกปรากฏการณ์สามารถเอามาวิเคราะห์ได้*

เอาปรากฏการณ์มาสอน และสอนอย่างไร ต้องเกิดการไม่เอนเอียง หาผลประโยชน์ ผลข้างเคียง ข้อดี-ข้อเสีย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 

เด็กปฐมวัย & การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

- วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงๆหรือ?

คำตอบ คือ ไม่เป็นยาขม ต้องสอดคล้องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก สิ่งใกล้ตัว สิ่งที่มีผลกระทบ

- ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?

คำตอบ คือ ไม่ยากเกินไป ถ้าจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก จัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

และอีกคำตอบก็คือ อาจจะยากเกินไป ถ้าจัดการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และเลือกจัดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก  

วิทยาศาสตร์

- คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง

- ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

- วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ได้ แต่สำหรับเด็กวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบๆตัว

ความอยากรู้อยากเห็น  มาจากพัฒนาการของเด็ก 

ความหมายพัฒนาการของเด็ก คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละระดับอายุของเด็ก ที่เด็กมีอยู่ในอายุนั้นๆ

ลักษณะของพัฒนาการ 

- เปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

- ความสามารถของเด็กแต่ละระดับอายุที่แสดงออกเป็น พฤติกรรม 

- คนรอบข้างต้องทำให้พัฒนาการของเด็กเต็มและแข็งแรง

เด็กมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร 

- การสัมผัส                                                               - การสังเกต คือ ตา 

- การฟัง คือ หู                                                          - การดมกลิ่น คือ จมูก

- การชิมรส คือ ลิ้น                                                   - กายสัมผัส 

นิยามคำว่า เล่น คือ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุ ทั้งแบบอิสระและครูจัดให้ บนพื้นฐานของความสุข ความสนุกสนาน

การพัฒนาการจะมีอายุเข้ามากำกับ 

 สมองทำงานอย่างไร คือ การซึมซับ ผสมผสาน ทำให้เกิดความรู้ใหม่

การเรียนรู้ = พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

งานที่รับมอบหมายให้ทำในวันนี้ คือ 

1. ทำบล็อคให้เสร็จ

2. ไปสรุป วิจัย บทความ คลิปวีดีโอการสอน ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แล้วมาพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียนอาทิตย์ละ 3 คน คนละหัวข้อ 

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Absorb = ซึบซับรับรู้

2. Senses = ความรู้สึก

3. Behavior = พฤติกรรม

4. Phenomenon = ปรากฏการณ์

5. Perception = ประสาทการรับรู้

 💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนเข้าใจมาก ละเอียด อธิบายได้ชัดเจน ได้ให้นักศึกษาออกความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ รับฟังและเข้าใจนักศึกษาทุกคน

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้น พยายามตอบคำถาม พยายามแสดงความคิดเห็นเวลาอาจารย์ถามมา เรียนสบายไม่เครียด และได้ความรู้ที่ใหม่ๆดีมาก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนมาเรียนตรงเวลาครบทุกคน กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นดีมาก  


 

 

 

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น