วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 ☂

 😝 ครั้งที่ 4 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น. 

💚เนื้อหาที่เรียน

 อาจารย์สอนว่าเด็กเกิดการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เห็น

รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย 

อายุ 3 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา 

- สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้

- บอกชื่อของตนเองได้

- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้

- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ

อายุ 4 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา

- จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้

- บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้

- พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง

อายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา

- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้

- บอกชื่อนามสกุลและอายุของตนเองได้

- พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง

- สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

สภาพแวดล้อม = ความพร้อมของสมอง กิจกรรมที่ได้ทำ อาหาร การนอน

เพียเจต์ (Piaget) 

- อายุ 2 - 4 ปี เป็นจุดเด่นเนื้อหา บริบทกับสิ่งที่อาศัยอยู่ พัฒนาการคิด พูดตามที่เห็น

- อายุ 4 - 7 ปี ภาษาเริ่มพัฒนาขึ้น พัฒนาปรับบอกได้ในสิ่งที่ตาเห็น

💢ขั้นอนุรักษ์ = ขั้นที่เด็กตอบได้ด้วยเหตุผล💢

คณิตศาสตร์ที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัยต้องเป็นเรื่องจริง รูปธรรมจับต้องได้

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

ความเป็นไปที่เป็นไปตามปกติของเด็ก คือ ธรรมชาติของเด็กที่แสดงออกมาจากพัฒนาการ

- พอใจคนที่ตามใจ - มีช่วงความสนใจสั้น (8-10นาที) - สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ - อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว - ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม - ช่วยตนเองได้ - ชอบเล่นแบบคู่ขนาน - พูดประโยคยาวขึ้น 

ทฤษฎีการเรียนรู้ (พาฟลอฟ การวางเงื่อนไข)

- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี

- ครูวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เพื่อผู้เรียนจะได้รักวิชาที่ครูสอนด้วย

- ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน

- สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน

- ครูจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ 

- ทฤษฎีลองผิดลองถูก - การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 

 ☘️ทฤษฎีความรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่องโยงไปใช้ในการเรียนการสอน ☘️

- ก่อนที่จะดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน

- มอบหมายงาน แบบฝึกหัดหรือการบ้านให้เด็กๆได้ฝึกทำ บรรลุตามหลักสูตรให้คิดและแก้ปัญหาเป็น

- ให้รางวัลและลงโทษ “ทำได้ดีแล้ว ต่อไปทำได้ดีกว่านี้แน่นอน”

🌟และได้พูดถึงวิธีการของทฤษฎีการของทฤษฎีต่างๆอย่างละเอียด🌟

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

 เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย 

มีการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีการนับเลข

ตัวอย่างเพลง เช่น 

การเพิ่มจำนวน “บ้านฉันมีแก้วน้ำ 4 ใบ เพื่อนให้อีก 3 ใบ นะเออ มารวมกันนับดีดีซิเธอ ดูซิเออรวมกันได้ 7 ใบ”

การลดจำนวน “บ้านฉันมีแก้วน้ำ 7 ใบ หายไป 3 ใบ นะเออ ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่ 4 ใบ”

อาจารย์ให้นักศึกษาไปฝึกร้องเพลง 2 เพลง ดังนี้  

 


เพลง นกกระจิบ


เพลงแม่ไก่ ออกไข่วันละฟอง

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Spread = การแผ่ขยาย

2. Discrimination = การเลือกปฏิบัติ

3. Knowledge born from memory = ความรู้เกิดจากความจำ

4. Classification of things = การจำแนกประเภทของสิ่งต่างๆ

5. Trial and error = ลองผิดลองถูก

 💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน 

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนละเอียดเข้าใจง่ายมาก พาร้องเพลงแต่งเพลตามกลุ่มตนเอง เพลิดเพลิน สนุกสนาน 

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้น พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรียนสบาย ไม่กดดันตัวเอง ได้ความรู้ใหม่ๆเยอะมากค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลาครบทุกคน กระตือรือร้นในการเรียนและตอบคำถาม และให้ความร่วมมือสามัคคีในการทำงาน




 

 

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

•̀ω•́สรุปคลิปการสอนวิทยาศาสตร์•̀ω•́

 😍สรุปคลิปการสอนวิทยาศาสตร์😍

เริ่มต้นด้วยมีนิทานดึงดูดความสนใจเด็กๆ โดยการถามว่าร่างกายเรามีอะไรบ้าง มีสิ่งสำคัญอะไรบ้าง แต่ละส่วนสำคัญยังไง ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการตอบ การแสดงความคิดเห็น หลังจากเล่านิทานแล้ว มีสื่อให้เด็กๆเล่นว่าร่างกายมีอะไรบ้าง แต่คุณครูจะเป็นคนสาธิตการเล่นให้ดูก่อน 1 รอบ และระหว่างสาธิตก็จะถามเด็กๆร่วมด้วยว่า อันนี้คืออะไรเด็กๆรู้ไหมคะ ? ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในทุกๆอย่าง โดยการเล่นจะมีชิ้นส่วนต่างๆของร่างกายให้ แล้วให้เด็กๆนำไปติดตามที่มีลูกศรชี้ไว้ และจากเล่นเสร็จคุณครูก็มีเพลงปิดท้ายกิจกรรม มีชื่อเพลงว่า "ตาดู หูฟัง มือไว้จับ ร้องว่า ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง มือเรามีไว้จับ คุณครูท่านสอนท่านสั่ง เราตั้งใจฟัง ตั้งใจดู ตั้งใจจับ " จบกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ 👶

ลิงค์คลิปการสอนวิทยาศาสตร์ >>> https://www.youtube.com/watch?v=EwgRY3cvyhg&t=84s


•̀ω•́สรุปคลิปการสอนคณิตศาสตร์•̀ω•́

 😍สรุปคลิปการสอนคณิตศาสตร์😍

คุณครูในห้องช่วยกันจัดแถวให้เด็กๆเพื่อเตรียมตัวทำกิจกรรมโดยให้จับมือเป็นวกลมแล้วมีคุณครูคั่นระหว่างในแถวเป็นระยะๆ แล้วนั่งลงประจำที่ 

ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวโดยฟังคำสั่งจากคุณครูว่า ปรบมือ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง 5 ครั้ง และร้องว่า "ปรบมือดังดัง 4 ที ปรบใหม่ดังดังอีกที ลุกขึ้นลุกขึ้น ส่ายเอว 5 ที "หลังจากนั้นจัดเด็กมานั่งรวมกันและทำกิจกรรมเริ่มประสบการณ์ การนับเลขโดยผ่านสื่อการสอนแบบแผ่นพับฟิวเจอร์บอร์ด มีรูปการ์ตูนให้เด็กๆนับ และให้ช่วยกันตอบว่ามีสีอะไรบ้าง รูปอะไร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และต่อไปทำกิจกรรมเกมการศึกษา เกมแยกสีของฝา ว่ามีสีอะไรบ้างและมีกี่ฝา 

หลังจากทำกิจกรรมทุกอย่างเสร็จแล้ว คุณครูก็สรุปกิจกรรมการนับเลข 1-10 จบกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วค่ะ 👦

ให้เด็กได้รู้สึกว่าเป็นการเล่นมากกว่า เพราะมันจะส่งผลเป็นยาขมสำหรับเด็กได้ เพราะฉะนั้นเราต้องจัดกิจกรรมร่วมกับการเล่นและร้องเพลงเข้าไปเยอะๆ ให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์นั้น สนุก ไม่ยาก และตัวเลขเป็นเรื่องง่ายๆ และน่าสนใจ 

ลิงค์คลิปการสอนคณิตศาสตร์ >>> https://www.youtube.com/watch?v=Ows_mU0aD5g


วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

•̀ω•́สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์ •̀ω•́

😍สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์😍

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถ หรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติ และฝึกฝนกระบวนการคิดอย่างมีระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ ค้นหาความรู้ และแก้ปัญหาด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 5-6 ปี จำนวน 4 ทักษะ ประเมินจากแบบประเมินที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ดังนี้

1. การสังเกต

2. การจำแนกประเภท 

3. การสื่อสาร

4. การลงความเห็นจากข้อมูล 

 ลิงค์วิจัยวิทยาศาสตร์ >>> http://etcedumsu.com/etcjournal/Journal-accout/file_editor/11_2019-12-25_Vol2No6.pdf

 

•̀ω•́ สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ •̀ω•́

😍สรุปวิจัยคณิตศาสตร์😍

 1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตโดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกตุเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ ด้านการรู้ค่าจำนวน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตทั้งโดยรวม และรายด้าน มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ในรายด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนตามลำดับ 

 ลิงค์วิจัยคณิตศาสตร์ >>> http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Wannee_W.pdf


วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

•̀ω•́สรุปบทความคณิตศาสตร์•̀ω•́

😍สรุปบทความความคณิตศาสตร์😍

เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่นและการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ระยะสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลอง สื่อในห้องเรียน บล็อคไม้หรือลูกบอลต่างๆมากมาย และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ดังนี้

1. จำนวนและการดำเนินการ

2. การวัด

3. เรขาคณิต

4. พีชคณิต

5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความจำเป็น

6. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

   เด็กจะได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากกาจดกิจกรรมกลุ่ม เช่น จัดให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆ เราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อย และนำสื่อของจริง มาให้เด็ก ๆ สังเกตุและจำแนกตามชนิดนั้นๆ 

ลิงค์ >>> http://eaed2204-102.blogspot.com/2016/01/blog-post.html?m=1

 


•̀ω•́สรุปบทความวิทยาศาสตร์ •̀ω•́

 😍สรุปบทความวิทยาศาสตร์😍

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว 

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย มีความสำคัญหลายประการดังนี้

1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น

2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก

3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ของเด็ก

4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก

5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฏ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ

6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจ ใฝ่รู้อยากสืบค้นต่อไป

7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ 

ลิงค์บทความวิทยาศาสตร์ >>>  http://fang2029.blogspot.com/2014/09/blog-post.html?m=1

๑ ۩۩ .. ..۩۩ ๑๑ ۩۩ .. ..۩۩ ๑๑ ۩۩ .. ..۩۩ ๑