วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

☂ บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 ☂

 😝 ครั้งที่ 4 😛

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563

เวลา 8.30 - 12.30 น. 

💚เนื้อหาที่เรียน

 อาจารย์สอนว่าเด็กเกิดการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เห็น

รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย 

อายุ 3 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา 

- สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้

- บอกชื่อของตนเองได้

- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้

- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ

อายุ 4 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา

- จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้

- บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้

- พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง

อายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา

- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้

- บอกชื่อนามสกุลและอายุของตนเองได้

- พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง

- สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

สภาพแวดล้อม = ความพร้อมของสมอง กิจกรรมที่ได้ทำ อาหาร การนอน

เพียเจต์ (Piaget) 

- อายุ 2 - 4 ปี เป็นจุดเด่นเนื้อหา บริบทกับสิ่งที่อาศัยอยู่ พัฒนาการคิด พูดตามที่เห็น

- อายุ 4 - 7 ปี ภาษาเริ่มพัฒนาขึ้น พัฒนาปรับบอกได้ในสิ่งที่ตาเห็น

💢ขั้นอนุรักษ์ = ขั้นที่เด็กตอบได้ด้วยเหตุผล💢

คณิตศาสตร์ที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัยต้องเป็นเรื่องจริง รูปธรรมจับต้องได้

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

ความเป็นไปที่เป็นไปตามปกติของเด็ก คือ ธรรมชาติของเด็กที่แสดงออกมาจากพัฒนาการ

- พอใจคนที่ตามใจ - มีช่วงความสนใจสั้น (8-10นาที) - สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ - อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว - ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม - ช่วยตนเองได้ - ชอบเล่นแบบคู่ขนาน - พูดประโยคยาวขึ้น 

ทฤษฎีการเรียนรู้ (พาฟลอฟ การวางเงื่อนไข)

- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี

- ครูวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เพื่อผู้เรียนจะได้รักวิชาที่ครูสอนด้วย

- ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน

- สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน

- ครูจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ 

- ทฤษฎีลองผิดลองถูก - การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 

 ☘️ทฤษฎีความรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่องโยงไปใช้ในการเรียนการสอน ☘️

- ก่อนที่จะดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน

- มอบหมายงาน แบบฝึกหัดหรือการบ้านให้เด็กๆได้ฝึกทำ บรรลุตามหลักสูตรให้คิดและแก้ปัญหาเป็น

- ให้รางวัลและลงโทษ “ทำได้ดีแล้ว ต่อไปทำได้ดีกว่านี้แน่นอน”

🌟และได้พูดถึงวิธีการของทฤษฎีการของทฤษฎีต่างๆอย่างละเอียด🌟

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

 เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย 

มีการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีการนับเลข

ตัวอย่างเพลง เช่น 

การเพิ่มจำนวน “บ้านฉันมีแก้วน้ำ 4 ใบ เพื่อนให้อีก 3 ใบ นะเออ มารวมกันนับดีดีซิเธอ ดูซิเออรวมกันได้ 7 ใบ”

การลดจำนวน “บ้านฉันมีแก้วน้ำ 7 ใบ หายไป 3 ใบ นะเออ ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่ 4 ใบ”

อาจารย์ให้นักศึกษาไปฝึกร้องเพลง 2 เพลง ดังนี้  

 


เพลง นกกระจิบ


เพลงแม่ไก่ ออกไข่วันละฟอง

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Spread = การแผ่ขยาย

2. Discrimination = การเลือกปฏิบัติ

3. Knowledge born from memory = ความรู้เกิดจากความจำ

4. Classification of things = การจำแนกประเภทของสิ่งต่างๆ

5. Trial and error = ลองผิดลองถูก

 💚ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน 

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนละเอียดเข้าใจง่ายมาก พาร้องเพลงแต่งเพลตามกลุ่มตนเอง เพลิดเพลิน สนุกสนาน 

ประเมินตนเอง : กระตือรือร้น พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรียนสบาย ไม่กดดันตัวเอง ได้ความรู้ใหม่ๆเยอะมากค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลาครบทุกคน กระตือรือร้นในการเรียนและตอบคำถาม และให้ความร่วมมือสามัคคีในการทำงาน




 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น